บทความ > ทันตกรรมจัดฟัน

ความรู้เกี่ยวกับ "การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร"

จัดฟันผ่าตัดขากรรไกร

การจัดฟัน (Orthodontic treatment) คือ การรักษาทางทันตกรรม เพื่อแก้ไขสภาวะการสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) โดยใช้หลักการ ของแรงทางฟิสิกส์ (Physics) ร่วมกับหลักการกลศาสตร์ชีววิทยา (Biomechanical) ในการ “เคลื่อนฟัน” จากตำแหน่งที่ผิดปกติไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อฟันและอวัยวะรอบๆฟัน ซึ่งการจัดฟันนั้น มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่ เพื่อให้มีความสวยงาม (Esthetics), เพื่อให้มีการใช้งานที่ดี (Function) และเพื่อให้มีความมั่นคงในการสบฟัน (Stability)

จัดฟันมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร ?

การจัดฟัน แบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร ?

การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthodontic treatment with orthognathic surgery) เป็นการจัดฟันในเคสที่มีสภาวะความผิดปกติของการสบฟันร่วมกับความผิดปกติของขากรรไกร ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต้องรักษาด้วยการจัดฟันโดยทันตแพทย์จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์ศัลยกรรม

ผู้ที่สามารถผ่าตัดขากรรไกรได้นั้นต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยทั่วไปทันตแพทย์จะเลือกใช้เครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับจัดฟันขั้นพื้นฐาน (Conventional) เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ดี สามารถแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันได้หลากหลาย

ส่วนประกอบของ เครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ

ส่วนประกอบเครื่องมือจัดฟัน
  • แบรคเก็ต (Bracket)
              เป็นส่วนประกอบที่ใช้ยึดติดกับฟัน เพื่อใช้เป็นตัวกลางสำหรับส่งผ่านแรงที่กระทำต่อฟันจากภายนอก เข้ามาควบคุมการเคลื่อนที่ของฟัน โดยแบรคเก็ต ชนิดนี้ผลิตจากวัสดุ “โลหะ” ซึ่งมีสีเงิน มองเห็นได้ชัดเจน
  • ยางรัดฟัน (O-ring)
              เป็นส่วนประกอบที่ใช้ยึดลวดจัดฟันเข้ากับแบรคเก็ต เพื่อใช้สำหรับส่งผ่านแรงที่กระทำต่อฟันจากลวดในการควบคุมการเคลื่อนที่ของฟัน โดยยางรัดฟัน จะมีสีสันหลากหลาย และมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือนก็จะเริ่มเปื่อยและหลุด จึงต้องมาปรับเครื่องมือเพื่อเปลี่ยนยางทุกเดือน 
  • เชนดึงฟัน (Chain)
              เป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการออกแรงดึงเพื่อเคลื่อนฟัน โดยเชนดึงฟัน จะมีลักษณะ เป็นยางรัดฟัน (O-ring) ต่อกันยาวๆ มีสีสันหลากหลาย และมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือนก็จะเริ่มเปื่อยและหมดแรงดึง จึงต้องมาปรับเครื่องมือเพื่อเปลี่ยนเชนทุกเดือน
  •  ลวดจัดฟัน (Archwire)
              เป็นส่วนประกอบที่ใช้ควบคุมทิศทางและตำแหน่งของการเคลื่อนฟัน โดยฟันจะเคลื่อนที่ไปตามลวดจัดฟันผ่านทางแบรคเก็ต โดยลวดจัดฟันนั้น ผลิตจากวัสดุหลากหลายประเภท ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนฟัน เช่น Nickel-titanium, Stainless steel เป็นต้น
  • อุปกรณ์เสริมอื่นๆ
              นอกจากอุปกรณ์หลักๆ แล้วยังมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ในการจัดฟัน เช่น ลวดมัดฟัน (Ligature), สปริง (Spring) ชนิดต่างๆ, Hook  เป็นต้น

ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

  • เป็นการรักษา เพื่อแก้ไขความผิดปกติของสบฟันและความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกร 
  • มีการเปลี่ยนแปลงรูปหน้าและการสบฟันไปในทางที่ดีขึ้น

ข้อเสียของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

  • เกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เนื่องจากต้องมีการผ่าตัดและดมยาสลบ
  • เครื่องมือจัดฟันเป็นเครื่องมือแบบติดแน่น ไม่สามารถถอดเข้า-ออกได้ อาจทำให้เกิดความรำคาญ ระคายเคืองจากเครื่องมือ ต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ร่างกายยังปรับตัวไม่ได้
  • อาจทำให้พูด ออกเสียงไม่ชัดในช่วงแรกที่ร่างกายยังปรับตัวไม่ได้
  • การดูแลรักษาทำความสะอาดยาก ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
  • ต้องพบทันตแพทย์จัดฟันเพื่อทำการปรับเครื่องมือทุกเดือน

กรณีใด ที่จำเป็นต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ?

  • กรณีที่มีความผิดปกติของการสบฟันร่วมกับความผิดปกติของขากรรไกร (Malocclusion with jaw deformity) เช่น ยิ้มเห็นเหงือก, คางยื่นหรือหลุบ, ขากรรไกรบนยื่นหรือหลุบ, ขากรรไกรเบี้ยว

รายละเอียดขั้นตอนในการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

  1. นัดปรึกษาทันตแพทย์จัดฟัน
              ในครั้งแรก ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการซักประวัติ ตรวจนอกช่องปาก ได้แก่ วิเคราะห์รูปหน้า, วิเคราะห์การยิ้ม และตรวจการสบฟันอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยปัญหา และวางแผนการรักษา ผู้เข้ารับการรักษาจะได้ทราบแผนการรักษาเบื้องต้น  โดยทันตแพทย์จัดฟันที่ปรึกษาจะเป็นทันตแพทย์ประจำตัว ที่จะทำการรักษาไปจนเสร็จสิ้นการรักษา ทีมทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันคลินิกทันตกรรมสไมล์ลอฟท์

  2. ทำประวัติก่อนการรักษา
              กรณีถ้าตกลงจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟันก่อนการรักษา บันทึกถ่ายภาพใบหน้าและภายในช่องปาก วิเคราะห์ วินิจฉัยวางแผนการรักษา และ ทำเอกสารเฉพาะในเบื้องต้น รวมทั้งถ่ายภาพรังสีทั้งปาก (Panoramic film) และ ภาพรังสีใบหน้าด้านข้าง (Lateral cephalometric film)

  3. ขั้นตอนการเคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟัน
              เป็นขั้นตอนในการเตรียมสภาพช่องปากทั่วไปให้เรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่ดีตามแผนการรักษาของทันตแพทย์จัดฟันก่อนการติดเครื่องมือจัดฟัน ได้แก่ การอุดฟัน, การขูดหินปูน, การผ่าฟันคุด, การรักษารากฟัน, การถอนฟัน เพื่อการจัดฟัน เป็นต้น

  4. ติดเครื่องมือจัดฟัน
              เมื่อเคลียร์ช่องปากเสร็จแล้ว จึงนัดติดเครื่องมือจัดฟัน โดยทั่วไปทันตแพทย์จะติดเครื่องมือจัดฟันที่ขากรรไกรบนก่อนเพื่อให้ค่อยๆปรับตัว ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที และจะนัดมาติดเครื่องมือจัดฟันล่างอีกครั้งใน 1-2 สัปดาห์ (อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเคส ขึ้นอยู่กับแผนการรักษา)

  5. ปรับเครื่องมือจัดฟัน “ก่อนการผ่าตัด”
              ทันตแพทย์จัดฟันจะนัดปรับเครื่องมือจัดฟันทุกเดือน เพื่อทำการเคลื่อนฟันไปในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละขากรรไกรตามแผนการรักษา โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ในขั้นตอนนี้อาจพบได้ว่าความรุนแรงของความผิดปกติของการสบฟันอาจเพิ่มขึ้นได้

  6. ผ่าตัดขากรรไกร
             ทำการผ่าตัดขากรรไกร (ระหว่างที่ยังมีเครื่องมือจัดฟันอยู่) ที่คณะทันตแพทย์ฯ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือโรงพยาบาลอื่นๆ ตามแผนการรักษาของทันตแพทย์แต่ละท่าน ผู้เข้ารับการรักษา จะได้รับการดมยาสลบขณะผ่าตัด พักฟื้นที่โรงพยาบาล 2-3 วัน หลังจากนั้นจึงกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน โดยจะมีอาการหน้าบวม, ต้องมัดฟัน โดยปกติจะแนะนำให้หยุดงานเพื่อพักฟื้น 2 สัปดาห์

  7. ปรับเครื่องมือจัดฟัน “หลังการผ่าตัด”
              ทันตแพทย์จัดฟันจะนัดปรับเครื่องมือจัดฟันทุกเดือนต่อ หลังจากการผ่าตัด ตามแผนการรักษา โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

  8. ทำรีเทนเนอร์หลังจัดฟัน
              เมื่อทำการจัดฟันเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำ เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ รีเทนเนอร์ (Retainers) และถอดเครื่องมือ, ขัดกาวและขัดฟัน ผู้เข้ารับการรักษาต้องทำการใส่รีเทนเนอร์อย่างมีวินัยตามที่ทันตแพทย์จัดฟันแนะนำ โดยทั่วไปจะต้องใส่ตลอด 24 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 1 ปีแรก หลังจากนั้นจึงค่อยๆลดเวลาการใส่ลงจนเหลือแต่ตอนกลางคืน

  9. ขั้นตอนการเคลียร์ช่องปากหลังจัดฟัน
              เป็นขั้นตอนในการตรวจดูแลสภาพช่องปากทั่วไปให้เรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่ดีหลังการจัดฟัน ได้แก่ การอุดฟัน, การขูดหินปูน, การทำครอบฟัน, การใส่ฟันปลอมแบบถอดได้, การทำฟันปลอมแบบติดแน่น  และ ปักรากเทียม เป็นต้น

  10. นัดเพื่อตรวจเช็ครีเทนเนอร์และตรวจสุขภาพฟันประจำปี
              โดยทั่วไปหลังถอดเครื่องมือจัดฟันแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันจะนัดเพื่อตรวจติดตามผลการรักษาและเช็ครีเทนเนอร์ ในช่วงระยะเวลาหลังการรักษา 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และ 1 ปี พร้อมกับการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี

ราคาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

ราคาจัดฟันผ่าตัดขากรรไกร
  • ราคาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ราคารวม 60,000-80,000 บาท
  • ราคาผ่าตัดขากรรไกร  100,000 บาท/ขากรรไกร (ชำระที่โรงพยาบาล)
    * 1-2 ขากรรไกรขึ้นกับเคส
    * รายละเอียดราคาอาจเปลี่ยนแปลงขึ้นกับโรงพยาบาล

ขั้นตอนการแบ่งชำระ

  • ปรึกษาจัดฟันครั้งแรก : ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • กรณีถ้าตกลงจัดฟัน จะมีค่าใช้จ่ายตามนี้
    ค่าใช้จ่ายครั้งแรก : พิมพ์ปาก 1,000 + เอ็กซเรย์ 1,000 = 2,000 บาท
  • หลังจากนั้น นัดเคลียร์ช่องปาก (ราคาขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของแต่ละบุคคล)
    อัตราค่าบริการทางทันตกรรมคลินิกทันตกรรมสไมล์ลอฟท์
  • ติดเครื่องมือ
    – ติดเครื่องมือบน ราคา 5,000 บาท
    – ติดเครื่องมือล่าง ราคา 5,000 บาท
  • ปรับเครื่องมือก่อนการผ่าตัด (ทุกเดือน) ประมาณ 1-2 ปี 
    ผ่อนชำระ ครั้งละ 2,500 บาท x 20-28 เดือน
    (รวมทั้งก่อนและหลังผ่าตัดขากรรไกร)
  • ทำการผ่าตัดขากรรไกร (ราคาผ่าตัดขึ้นกับโรงพยาบาลที่ผ่า) 

  • ปรับเครื่องมือหลังการผ่าตัดทุกเดือน (ชำระต่อ) ประมาณ 1-2 ปี จนเสร็จสิ้นการรักษา
    (เมื่อผ่อนชำระครบแล้ว กรณียังจัดฟันไม่เสร็จ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)

  • รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน ราคา 2,999 บาท
    (ลดจากปกติ ราคา 5,000)

คลิปตัวอย่างการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

images
images
images-2