ความรู้เกี่ยวกับ "รีเทนเนอร์ (Retainer)"
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
ทำรีเทนเนอร์ที่ไหนดี ?
ทำรีเทนเนอร์ที่ไหนดี ? รายละเอียด ราคาและขั้นตอนการทำรีเทนเนอร์เป็นอย่างไร ? คงเป็นหลายๆ คำถามสำหรับผู้ที่เคยจัดฟันมาแล้ว ทำรีเทนเนอร์หาย หรือฟันเริ่มเคลื่อนต้องการทราบ “คลินิกทันตกรรมสไมล์ลอฟท์” เป็นคลินิกที่จัดฟันโดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทางมหิดล, อาจารย์แพทย์ มหิดลและปริญญาเอก ซึ่งทุกท่านมีรายชื่อเป็น สมาชิกสามัญของสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ทางคลินิกยังมีตัวอย่างของ เคสรีวิวรีเทนเนอร์จากคนไข้จริง และมี บทความทางทันตกรรมมากมาย สำหรับตอบทุกคำถามของคุณแบบละเอียดยิบ แล้วคุณจะไม่ต้องลังเลอีกต่อไป ว่าจะทำรีเทนเนอร์ที่ไหนดี
รีเทนเนอร์ คืออะไร ?
“รีเทนเนอร์” (Retainers) เป็นเครื่องมือคงสภาพฟันหลังการจัดฟัน เพื่อให้ฟันและเนื้อเยื่อรอบๆได้ปรับตัวกับตำแหน่งใหม่ในช่องปาก เพื่อป้องกันการเคลื่อนกลับไปสู่ตำแหน่งเดิมของฟัน ซึ่งการคืนกลับของฟันจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นกับอายุ, ลักษณะการสบฟัน และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสคืนกลับหรือเคลื่อนได้ตลอดชีวิตโดยไม่สามารถการันตีได้ ดังนั้นการใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพการจัดฟันให้สวยงามและคงอยู่ไปนานๆ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากไม่แพ้ขั้นตอนการจัดฟัน ที่ต้องเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการใส่อย่างเคร่งครัด
กรณีใด ที่จำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ ?
- สำหรับใช้เป็นเครื่องมือคงสภาพฟันหลังการจัดฟัน
รีเทนเนอร์ มีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร ?
รีเทนเนอร์จะถูกออกแบบแตกต่างกันไป ขึ้นกับสภาพลักษณะการสบฟันของแต่ละคน โดยรีเทนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
- รีเทนเนอร์แบบลวด
รีเทนเนอร์แบบลวด เป็นรีเทนเนอร์ที่ใช้ลวดธรรมดาในการคงสภาพฟัน โดยไม่มีอะคลิลิกหุ้มลวด โดยมีข้อดีคือ สามารถปรับได้ เช่น กรณีที่ลืมใส่จนฟันขยับนิดๆ หรือใส่นานๆแล้วเริ่มหลวม สามารถให้ทันตแพทย์ปรับให้เข้าที่ได้ นอกจากนี้กรณีถ้าฟันห่างและมีช่องว่างเล็กๆก็สามารถปรับ บีบลวดเพื่อปิดช่องว่างได้เล็กน้อ ยเช่นกัน แต่กรณีถ้าช่องว่างใหญ่มากๆก็อาจบีบไม่ไหว ต้องพิจารณาจัดฟันใหม่หรืออุดเติมฟัน
สำหรับข้อเสียคือ มีฐานคลุมเพดานทำให้รู้สึกรำคาญและ พูดไม่ชัด ซึ่งก็เป็นปกติของการใส่รีเทนเนอร์แบบนี้ ช่วงแรก เนื่องจากร่างกายยังปรับตัว ไม่ได้ ประมาณ 2-3 สัปดาห์เมื่อร่างกายปรับตัวได้ก็จะ ใส่ได้สบายขึ้น ที่สำคัญควรฝึกออกเสียงให้ชัดด้ วย นอกจากนี้ รีเทนเนอร์แบบลวดจะล็อคฟันไม่หนาแน่นมาก เมื่อเทียบกับแบบท่อ (มีอะคลิลิกหุ้ม) จึงป้องกันฟันหมุนได้น้อยกว่า
- รีเทนเนอร์แบบท่อสี
คำว่าท่อสี เป็นศัพท์ให้เข้าใจง่าย หมายถึงรีเทนเนอร์แบบลวด ที่มีการหุ้มอะคลิลิกบริเวณลวด เพื่อล็อคฟันให้หนาแน่นมากขึ้น ซึ่งกรณีถ้าไม่ชอบให้มีสี ก็สามารถเลือกเป็นสีใสได้ โดยมีข้อดี คือสามารถปรับได้เมื่อหลวม และที่สำคัญเนื่องจากมีอะคลิลิกหุ้มลวด ทำให้การล็อคฟันหนาแน่นมากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ฟันเคยซ้อน เก หรือหมุนมากๆ ไม่อยากให้ฟันบิดกลับไปที่เ ดิม แต่ในฟันหลังไม่ได้จำเป็นเท่าไหร่ เราควรปล่อยให้ฟันหลังอยู่ส บายๆตามธรรมชาติ เพื่อที่จะได้สบกันได้ดี แถมอาจทำให้ถอดเข้าออกยากด้ วย
สำหรับข้อเสียคือ รู้สึกรำคาญ/พูดไม่ชัด น้ำลายเยอะ ซึ่งเป็นปกติของการใส่รีเทนเนอร์เหมือนกันกับ แบบลวด อาจจะรู้สึกหนาๆ ที่ริมฝีปากนิดๆ เพราะมีความหนาของอะคลิลิก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปรับตัวได้ก็จะ ใส่ได้สบายขึ้น ที่สำคัญ อย่าลืมฝึกออกเสียงให้ชัดด้ วย ส่วนกรณีถ้าฟันห่าง มีช่องว่างเล็กๆ การปรับ บีบลวด เพื่อปิดช่องว่างจะทำได้ยาก กว่าแบบลวด เพราะ อะคลิลิกจะไปกันไม่ให้ฟันขยับ ดังนั้นจะเหมาะสำหรับการป้อ งกันฟันไม่ให้หมุนมากกว่ากา รบีบปิดช่องว่าง
- รีเทนเนอร์แบบใส
เป็นรีเทนเนอร์ที่ทำจากพลาสติกใสคุณภาพดี คลุมฟันทุกซี่ โดยมีข้อดี คือใส่สบาย เพราะไม่มีความหนาบริเวณเพดานให้เกะกะลิ้น จึงทำให้พูดชัดกว่า ที่สำคัญมองแทบไม่เห็นว่ากำลังใส่รีเทนเนอร์อยู่ นอกจากนี้เนื่องจากรีเทนเ นอร์แบบนี้คลุมฟันทุกด้านโ ดยรอบ ทำให้ป้องกันฟันหมุนได้ดีมา ก
สำหรับข้อเสีย คือ ปรับไม่ได้ ซึ่งกรณีถ้าลืมใส่แล้วฟันขยับนิดนึง อาจจะทำให้ใส่ไม่ลง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีวินัยมาก นอกจากนี้รีเทนเนอร์แบบใส จะมีความหนาด้านบดเคี้ยว ทำให้เวลากัดลงมาอาจจะรู้สึกสูง จึงไม่ค่อยเหมาะในเคสที่ฟัน หลังไม่ค่อยสบกัน เพราะความหนาทำให้ฟันลงมาสบกันตามธรรม ชาติได้ช้าลง
- รีเทนเนอร์แบบติดแน่น
เป็นรีเทนเนอร์แบบติดแน่นที่ทำจากลวดเส้นเล็กๆ ยึดอยู่ด้านในฟัน โดยมักจะยึดเฉพาะบริเวณฟันหน้าบนหรือล่าง ข้อดีคือมีประสิทธิภาพในการคงสภาพฟันสูง แต่ข้อเสียคือทำความสะอาดยากและอาจเกิดปัญหาหลุดหักได้
ข้อควรปฏิบัติในการใส่รีเทนเนอร์
- หลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน ต้องใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี โดยถอดได้เฉพาะเวลาทานข้าวและเวลาแปรงฟันเท่านั้น เนื่องจากช่วงระยะเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ฟันยังปรับตัวไม่ได้และอาจเคลื่อนตัวกลับสู่ตำแหน่งเดิมได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา
- หลังจากปีแรก อาจค่อยๆลดเวลาการใส่รีเทนเนอร์ เป็นช่วงกลางวัน (3-4 วันต่อสัปดาห์) และใส่ตอนกลางคืนทุกคืน เป็นระยะเวลา 6 เดือน และหลังจากนั้น ใส่เฉพาะตอนกลางคืนให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
- ช่วงแรกของการใส่รีเทนเนอร์ อาจรู้สึกรำคาญ, ตึงบริเวณฟัน, น้ำลายเยอะผิดปกติ, พูดไม่ชัด ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ เพราะร่างกายยังไม่คุ้นชิน อาการจะค่อยๆดีขึ้น ใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว
- การถอดรีเทนเนอร์ระหว่างวัน ควรเก็บใส่กล่องให้มิดชิด ไม่ควรห่อกระดาษทิชชู่ เพราะอาจสูญหาย หรือถูกทับแตกได้
- การทำความสะอาดรีเทนเนอร์ ให้ใช้แปรงสีฟันทำความสะอาดทุกวัน โดยมีภาชนะรอง เพื่อป้องกันการหล่นแตก สามารถใช้ยาสีฟัน น้ำสบู่ หรือน้ำเปล่าในการทำความสะอาดได้ และสามารถแช่เม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาดฟันปลอมได้ (1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) มิฉะนั้นอาจมีคราบสกปรกและหินปูนเกาะรีเทนเนอร์
- หลีกเลี่ยงการแช่รีเทนเนอร์ในน้ำอุ่น/น้ำร้อน หรือน้ำยาบ้วนปากที่ผสมแอลกอฮอล์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำร้อนในขณะใส่รีเทนเนอร์ เนื่องจากอุณหภูมิร้อนอาจส่งผลให้รีเทนเนอร์เปลี่ยนรูปร่างและทำให้ใส่ไม่เข้าที่ได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ลิ้นดุน กระดกรีเทนเนอร์เล่นไปมา เพราะจะทำให้รีเทนเนอร์หลวม และประสิทธิภาพในการคงสภาพฟันลดลง
- กรณีรีเทนเนอร์หลวมจนไม่สามารถยึดเกาะได้ ควรรีบมาพบทันตแพทย์ เพื่อปรับแต่งให้ได้ขนาดที่พอดี ไม่ควรดัดหรือปรับลวดรีเทนเนอร์ด้วยตนเอง เพราะอาจจะทำให้ใส่รีเทนเนอร์ไม่ลง หรือส่งผลต่อตำแหน่งฟันได้
- เมื่อรีเทนเนอร์หัก ชำรุด หรือสูญหาย ให้รีบมาพบทันตแพทย์เพื่อทำรีเทนเนอร์ชุดใหม่ทันที เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวกลับของฟัน
รายละเอียดขั้นตอนในทำรีเทนเนอร์
- ทำการรักษา 2 ครั้ง
- ทำการเลือกสีและลายรีเทนเนอร์ ก่อนเข้ารับการรักษา
- ครั้งแรก ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปาก, ออกแบบรีเทนเนอร์และส่งแลปเพื่อทำชิ้นงาน
- หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จึงนัดมาเพื่อใส่รีเทนเนอร์ จะมีการเช็คจุดกดเจ็บและตำแหน่งของรีเทนเนอร์ในช่องปาก
ราคารีเทนเนอร์
- “ราคาโปรโมชั่น” รีเทนเนอร์ ราคาคู่ละ 2,999 บาท
- “ราคาโปรโมชั่น” รีเทนเนอร์ 2 คู่ ราคา 5,555 บาท
- “ราคาปกติ” รีเทนเนอร์ ราคาคู่ละ 5,000 บาท
- รีเทนเนอร์แบบติดแน่น ราคาชิ้นละ 4,000 บาท